ชนเผ่าผู้ไท

ประวัติความเป็นมา 

              ชนเผ่าผู้ไทย เป็นชาวจังหวัดนครพนมชนเผ่าหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเรณู อำเภอนาแก อำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม อำเภอนาหว้า เดิมทีตั้งถิ่นฐานในแคว้นสิบสองจุไทย และแคว้นสิบสองปันนา ชาวผู้ไทยได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตามตำนานของชาวผู้ไทยเรณูนคร กล่าวไว้ในพงศาวดาร        ล้านช้าง ว่าที่เมืองน้ำน้อยอ้อยหนูหรือแถน มีปู่เจ้าลางเซิง ขุนเค็ก ขุนคาง ปกครองชาวผู้ไทย เมื่อเกิดทุกภิกขภัยพญากา หัวหน้าผู้ไทยคนหนึ่งได้เกิดขัดแย้งกับเจ้าเมือง จึงชักชวนผู้ไทยจำนวนหนึ่งมาอยู่ที่เมืองวังอ่างคำแขวง สุวรรณเขตปัจจุบัน ที่เมืองแห่งนี้มีชาวข่าอาศัยอยู่ก่อนแล้วจึงเกิดพิพาทกันขึ้นต่อมาผู้ไทยถูกชาวข่าและจีนฮ่อบุกรุกทำลายเผ่าบ้านเรือนและจับเอาพญาเตโชหัวหน้าชาวผู้ไทยไปเมืองจีน พญาเตโชได้สั่งลูกหลานว่า อย่าอยู่เมืองวังเลยให้อพยพไปอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเสียเถิด ชาวผู้ไทยโดยการนำมาของท้าวเพชร ท้าวสาย จึงพาชาวผู้ไทยจากเมืองวัง เข้ามาอยู่ฝั่งขวาของ แม่น้ำโขง โดยการต่อเรือและแพล่องมาตามแม่น้ำโขง ข้ามมาขึ้นฝั่งที่บ้านพระกลางท่าเขตอำเภอธาตุพนม พระภิกษุทาเจ้าสำนักธาตุพนมเวลานั้นได้แนะนำให้ไปตั้งบ้านเรือนที่ ดงหวายสายบ่อแก            ชาวผู้ไทยจึงอพยพกันต่อไปและตั้งบ้านเรือนขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า เมืองเว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวสายเป็น พระแก้วโกมล เจ้าเมืองคนแรกและยกเป็นเมืองเรณูนครขึ้นกับเมืองนครพนม ปัจจุบันคือ   อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพรม

แหล่งท่องเที่ยวชุมชน และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
              ประวัติศาสตร์ 200 ปี อนุรักษ์ตั้งอยู่ในพื้นที่ของหมู่ที่ 13 บ้านนาบัว เป็นสถานที่จัดท้เป็นฐานความรู้เหตุการณ์ บ้านเสียงปืนแตก อันสืบเนื่องมาจากความศรัทธราในอุดมการณ์แนวความคิด การดำรงชีวิต ว่าชาวบ้านจะต้องได้รับความเสมอภาค ความเป็นธรรมในสังคม ไม่มีการเอารับเอาเปรียบกัน จนทำให้ชาวบ้านนาบัวบางส่วนที่พึ่งพอใจในแนวคิดนี้ออกเคลื่อนไหวทางการเมือง อันเป็นสาเหตุหลักของการจับปืนลุกขึ้นสู้อำนาจรัฐ จนกลายเป็นตำนาน วันเสียงปืนแตก เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2508 ศูนย์เรียนรู้บ้านนาบัว รวบรวมเอาสิ่งสอง เครื่องใช้ และอุปกรณ์ทำมาหากินของบุคคลในอดีตที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมา วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของผู้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมชุมชนสามารถเข้ามาศึกษาร่องรอย วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนทั้งในอดีตและปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
ไหว้พระธาตุเรณู หลวงพ่อพระองค์แสน ไหว้สักการะเจ้าปู่ถลาฟ้ามุมเมือง มเหสักหลักเมืองเรณูนคร
การประกอบอาชีพ
            ที่อยู่ที่ทำกินมีความอุดมสมบูรณ์ การดำรงชีวิตอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ผลิตข้าวเพื่อกินเพื่อใช้ หัตถกรรมรวมอยู่กับเกษตรกรรม เช่น ทอผ้า ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ และค้าขายสิ้นค้าที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น ผ้าพื้นเมือง สินค้าหัตถกรรมด้านการจักสาน สินค้าแปรรูปการเกษตร สินค้าประเภทอาหารพื้นบ้านและอื่นๆ มากมาย เช่น เสื้อผ้าปักมือ ผ้าเทปทอมือ ผ้ามัดหมี่ ผ้าพันคอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เหล้าอุ ขนมจีน กระติบข้าว หมวก/กระเป๋าจากปอพาน กระเป๋า/หมวกจากกก ผลิตภัณฑ์ถักจากไหมพรม

ความเชื่อ ประเพณี ความสำคัญ
             ประเพณีการฟ้อนรำแบบดั้งเดิม ฟ้อนรำภูไท รำหมอเหยา
             ประเพณีบายศรีสู่ขวัญสำหรับนักท่องเที่ยว
             เยี่ยมชมหมู่บ้านวิถีดั้งเดิม
             ประเพณีชนช้าง หรือขี่ช้างชนเมือง (ดื่มเหล้าอุเรณูนคร)

วิถีการกินอยู่ อาหารพื้นบ้าน
            ข้าวปุ้นปาแดะโน ปิ้งไก่บ้านแหย่ฮังมดแดง (ปิ้งไก่บ้านโบราณ) แจวปลาแดะ (น้ำพริกปลาร้า) ข้าวหลามแซบ (เผาข้าวหลาม)

การแสดง
            รำผู้ไท

อาหารเด่นประจำชนเผ่า
           1.ข้าวปุ้นปาแดะโน  อาหารประจำธาตุ “ดิน”
ความเป็นมาของอาหาร
        ขนมจีน หรือภาษาอีสานเรียกว่า “ข้าวปุ้น” ซึ่งความจริงแล้วคนทั่วไปก็จะรู้จักกันดีแล้ว โดยทั่วไปแล้วเราจะกินขนมจีนกับน้ำกะทิ น้ำยาป่าหรือน้ำยาปลาด้ม น้ำเงี้ยว น้ำแกงเขียวหวาน แต่ชาวอำเภอเรณูนครจะรับประทานกับน้ำปลาร้า และน้ำกะปิ เส้นขนมจีก็เป็นเส้นบีบสด ซึ่งเป็นวิถีของขั้นตอนการทำและการกินที่ไม่เหมือนที่อื่นทั่วไป เป็นเอกลักษณ์และสูตรเฉพาะของชาวเรณู
ประโยชน์ทางอาหารให้พลังงานต่อร่างกาย
           2. ปิ้งไก่บ้านแหย่ฮังมดแดง (ปิ้งไก่บ้านโบราณ) อาหารประจำธาตุ “ดิน”
ความเป็นมาของอาหาร
          ไก่ เป็นสัตว์ที่ถูกเลี้ยงมานานมากแล้วในสมัยก่อน แถวชนบทผู้คนนิยมเลี้ยงไก่ไว้เพื่อจุดประสงค์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อกินไข่ การเลี้ยงไก่เพื่อกินเนื้อ การเลี้ยงไก่เลี้ยงเพื่อเป็นไก่ชน เราจะเห็นแทบทุกบ้านเลี้ยงไก่เอาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่ทำนา ปลูก ผัก เลี้ยงสัตว์ สัตว์หนึ่งในนั้นที่เกษตรกรจะเลือกเลี้ยงไว้ก็คือ “ไก่บ้าน”
           สมัยก่อนนั้นการประกอบอาหารและการเสาะหาแหล่งอาหารของชาวไทอีสานในความเป็นอยู่แบบพอเพียง ชาวอีสานมักออกแสวงหาอาหารในแหล่งธรรมชาติใกล้ชุมชน เช่น ในท้องนา ป่าชุมชน ป่าทาม รวมไปถึงในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ แม้ว่าปัจจุบันวิถีชีวิตบางอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็ตาม ในบางท้องที่หรือบางชุมชนก็ยังหาอยู่หากินอย่างพอเพียงตามวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมกันอยู่
          “ ไข่มดแดง” รวมถึงตัวอ่อนของมดแดง ก็ถือได้ว่าเป็นอาหารอีสานที่หารับประทานได้ในช่วงหน้าแล้งเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นอาหารตามฤดูกาลแม้ในปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมในการบริโภคกันอยู่ ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถหาได้ง่ายๆในท้องถิ่น
ประโยชน์ทางอาหาร
          มีโปรตีนสูง 8.2 กรัม/100 กรัมของไข่มด นับว่ามีมากพอสมควร ส่วนไขมันในไข่มดแดงจะน้อยกว่าในไข่ไก่มาก มีเพียง 2.6 กรัมเท่านั้น เทียบกับในไข่ไก่ซึ่งมีมากถึง 11.7 กรัม แคลอรีจากไข่มดแดงจึงน้อยกว่าไข่ไก่
           3. แจวปลาแดะ (น้ำพริกปลาร้า) อาหารประจำธาตุ “ลม”
ความเป็นมาของอาหาร
     แจ่วปลาแดกเป็นอาหารหลักของชาวบ้านไทยอีสาน ไปไร่ ไปนา ต้องมีแจ่วปลาแดกไปรับประทานขาดไม่ได้เวลาจัดสำรับจะต้องมีแจ่วบองอยู่ในสำรับกับข้าวด้วยเพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับประทานอาหาร แจ่วปลาแดกเป็นการแปรรูปสมุนไพร ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก กระเทียม หอมแดง ปลาร้า เพิ่มรสชาติ โดยการ เติม เกลือ และน้ำตาล เพื่อให้ได้รสชาติที่กลมกล่อมขึ้น แจ่วปลาแดก ( น้ำพริกพร้อมรับประทาน )
ประโยชน์ทางอาหาร
          ช่วยในการย่อย และการขับถ่ายเนื่องจากมีผักและสมุนไพรหลากหลายชนิด
          4. ข้าวหลามแซบ (เผาข้าวหลาม) อาหารประจำธาตุ “ดิน”
ความเป็นมาของอาหาร
      เป็นขนมชนิดหนึ่งนิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรืองาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนาจะเพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตรข้าวหลาม
ประโยชน์ทางอาหาร
          ใช้เป็นอาหารว่าง ของคนภูไท          


Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *