ประวัติพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจืด

เกิดขึ้นจาก “จิตนาการ” เป็นจินตนาการเพื่อการสร้างสรรค์จังหวัดนครพนมทางด้านการศึกษาและการท่องเที่ยว ซึ่งที่สำคัญ “พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจืด” และแม่น้ำโขงมีจุดขาย คือ “ปลาบึก” ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอาศัยอยู่ อีกทั้งมีปลาน้ำจืด นานาชนิดหลากหลายสายพันธุ์ที่สมควรอนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ศึกษา…… 

ประวัติหอเฉลิมพระเกียรติ

หอเฉลิมพระเกียรติพระราชวงศ์จักรี ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดีของพสกนิกรชาวนครพนมที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน ทหาร และตำรวจชายแดน จังหวัดนครพนม

การให้บริการกิจกรรมทางวิทยศาสตร์

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครพนม

หอเฉลิมพระเกียรติพระราชวงศ์จักรี

หอเฉลิมพระเกียรติพระราชวงศ์จักรี ภายในจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระราชวงศ์จักรี  อาทิ

  • พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ภาพวาดสีน้ำมันของ 9 รัชกาล พร้อมพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
  • แสดงนิทรรศการเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของ 8 ชนเผ่า    2 เชื้อชาติ ในจังหวัดนครพนม
  • นิทรรศการพระธาตุประจำวันเกิด

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจืด

   เป็นแหล่งรวมปลาน้ำจืดของแม่น้ำโขง  แม่น้ำสงคราม และแม่น้ำก่ำกว่า 96 ชนิด ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์  มีจุดเด่น คือ “อุโมงค์ปลา”  สามารถชมความเคลื่อนไหวของปลาได้ นอกจากนี้ ภายในอาคารยังประกอบด้วย  นิทรรศการเกี่ยวกับปลาแม่น้ำโขง

แผนผังการเข้าเยี่ยมชม

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจืดและหอเฉลิมพระเกียรติพระราชวงศ์จักรี แบ่งเป็น zone ของแต่ละนิทรรศการ ตามโครงสร้างผังการเข้าเยี่ยมชม ดังภาพนี้

นิทรรศการพลังงานเพื่อประชาชน

       นิทรรศการความตระหนักรู้ด้านพลังงาน จัดแสดงภายใต้แนวคิด “รู้ปัญหา    รู้ความจริง ร่วมแก้ไข”เป็นนิทรรศการมีชีวิต มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม และสร้างประสบการณ์เรียนรู้ด้วยตนเองแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ดังนี้

    1. เครื่องตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ (Weather Station System)ให้ความรู้เรื่องสภาพภูมิอากาศและศักยภาพพลังงาน มีการแสดงข้อมูลแบบ real-time   จากเครื่องตรวจวัดสภาพภูมิอากาศของจริงที่ติดตั้งอยู่ภายนอกอาคาร
    2. ความตระหนักรู้ด้านพลัง (Energy Literacy) จัดแสดง 3แนวคิดสำคัญ ในเรื่องความตระหนักรู้ด้านพลังงานคือ “รู้ปัญหา รู้ความจริง ร่วมแก้ไข” และให้ความรู้เรื่องพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่การจัดหา การส่งผ่าน และการใช้งานจัดแสดงผ่านชุดโมเดลจำลองพร้อมสื่อประสมเชิงโต้ตอบ (interactive multimedia)ที่ให้ผู้ชมได้ทดลองเรียนรู้ด้วยตนเอง
    3. พลังงานทดแทน (Alternative Energy)ให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและพลังงานในอนาคตจัดแสดงในรูปแบบชุดโมเดลจำลองพร้อมสื่อประสมเชิงโต้ตอบที่ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์ได้
    4. การอนุรักษ์พลังงาน (Energy Conservation) เรียนรู้เรื่องกลยุทธ์การประหยัดพลังงาน 3 อ. (อ.1 อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า อ.2 อาคารประหยัดไฟฟ้า และ อ.3 อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า) ผ่านชุดเครื่องเล่นที่ตรวจจับความเคลื่อนไหวของผู้ชมได้ เพื่อเพิ่มความสนุกสนาน ในการเรียนรู้นิทรรศการเกี่ยวกับปลาแม่น้ำโขง

นิทรรศการพลังงานเพื่อประชาชน