หอเฉลิมพระเกียรติพระราชวงศ์จักรี จังหวัดนครพนม

ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดี             ของพนกนิกรชาวจังหวัดนครพนมที่มีต่อ       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะจอมทัพไทยและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์   พระบรมราชินีนาถ ที่ให้เสด็จพระราชดำเนิน       ทรงเยี่ยมปลอบขวัญทหารชายแดน ณ จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2505

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ภาพยนต์ประวัติศาสตร์

พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 1-10 (ราชวงศ์จักรี สมัยรัตนโกสินทร์)

ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศไทยต่อจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ยุคของราชวงศ์นี้เรียกว่า “ยุครัตนโกสินทร์”

ชั้นแรก ประกอบไปด้วย

ชั้นที่ 1 ห้องโถงด้านหน้าพระบรมฉายาสาทิลักษณ์ภาพวาดสีน้ำมันของ ๙ รัชกาล พร้อมพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจแต่ละรัชกาลห้องโถงด้านหน้า
(ฝั่งขวา) แสดงลำดับราชสกุลวงศ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นิทรรศการศาสตร์พระราชา ประกอบไปด้วย แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
เกษตรทฤษฎีใหม่ นิทรรศการ ลุ่มน้ำก่ำและตัวยึกยือ
(ฝั่งซ้าย) ประมวลภาพประวัติศาสตร์ไทยในพระราชพิธี ,บรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ ,ราชวงศ์จักรีกับพระราชนิพนธ์ในแต่ละรัชกาล

ชั้นสอง ประกอบไปด้วย
  • ข้อมูลและประวัติของจังหวัดนครพนม
  • พิพิธภัณฑ์ชนเผ่า 8 ชนเผ่า 2 เชื้อชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครพนม ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร อย่างร่มเย็นเป็นสุข ประกอบไปด้วย ชนเผ่า ผู้ไท ญ้อ  กะเลิง โส้ แสก ข่า อีสาน(ลาว) กวน และอีก 2 เชื้อชาติ คือ จีนและเวียดนาม
  • ห้องพระธาตุ ประจำวันเกิด  ทั้ง 7  วันเกิด พระธาตุพนมพระธาตุประจำวันเกิด วันอาทิตย์ ,พระธาตุเรณูนคร พระธาตุประจำวันเกิด วันจันทร์ ,พระธาตุศรีคุณ พระธาตุประจำวันเกิด วันอังคารพระธาตุมหาชัย ,พระธาตุประจำวันเกิด วันพุธกลางวัน, พระธาตุมรุกขนคร พระธาตุประจำวันเกิด วันพุธกลางคืน ,พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุประจำวันเกิด วันพฤหัสบดี ,พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุประจำวันเกิด วันศุกร์พระธาตุนคร พระธาตุประจำวันเกิด วันเสาร์
  • ห้องฉายวีดีทัศน์ ฉายเกี่ยวกับ ภาพยนต์ประวัติศาสตร์ส่วนพระองค์ เมื่อปี พศ.2505 ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต พระบรมราชินีนาถ เสด็จประทับแรม ณ ริมอ่างเก็บน้ำหนองญาติ (ซึ่งเป็นที่มาของการก่อสร้าง หอเฉลิมพระเกียรติราชวงศ์จักรี)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น (MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ (MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองด์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA ROMANCE CHTLLY ในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราชพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ

ครองราชย์

       ขณะพระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน นั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช 

พระบรมราชาภิเษก

                            วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศ รามาธิบดีจักรีนฤบดินทร สยามิทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม” ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถานปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

วันรำลึกประวัติศาสตร์

การเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยือนราษฎรและไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดนครพนม

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ

พระราชดำเนินไปเยี่ยมเยือนราษฎรและประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ ในจังหวัดนครพนม จำนวน 17 ครั้ง

เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

  • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  • ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
  • ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

   โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ  ดังนี้
       1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
       2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ทฤษฎีใหม่

  เศรษฐกิจ พอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่ง เป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐาน กับ แบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ความพอเพียงในระดับบุคคล และครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น

   ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง

พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ พื้นที่

พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอด ปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้

พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย

พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง

       เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
   1. การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
   2. การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่าย)
   3. การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
   4. สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
   5. การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
   6. สังคมและศาสนา

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม

      เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคาร หรือบริษัทเอกชนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
   1. เกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
   2. ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
   3. เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง)
   4. ธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น

โครงการยึกยือ

 ลุ่มน้ำก่ำ เป็นลุ่มน้ำย่อยของกลุ่มน้ำโขง มีแหล่งน้ำต้นทุนที่สำคัญอันได้แก่ หนองหานและลำน้ำก่ำ โดยมีจุดเริ่มต้นจากหนองหาร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ไหลไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงแม่น้ำโขง ที่ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม รวมความยาวประมาณ 123 กิโลเมตร มีพื้นที่รับน้ำฝนประมาณ 3440 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำเฉลี่ยรายปีประมาณ 1400 ล้านลูกบาศก์เมตร ราษฎรต้องประสบปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งสลับกันเป็นประจำทุกปี

             ต่อมาเมื่อความทราบถึง พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำรึให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการเพื่อก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ  จังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม อย่างต่อเนื่องหลายครั้งในช่วงเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2535 เริ่มจากทรงร่างรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำ ปรากฏเป็นภาพลายพระหัตถ์เรียกว่า “ตัดยึกยือ” ประกอบด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทรงเยี่ยมราษฎรบริเวณประตูระบายน้ำสุรัสวดี จังหวัดสกลนคร 

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2535

  • ส่วนหัว
  • ส่วนกระดูกสันหลัง
  • ส่วนหาง
  • หมายถึง หนองหานซึ่งเป็นหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ต้นกำเนิดของลำน้ำก่ำ
  • หมายถึง ลำน้ำก่ำ ข้อที่เป็นปล้อง ๆ หมายถึง อาคารบังคับน้ำ ขอบลำตัวเปรียบเสมือนคลองระบายน้ำ ที่มีน้ำให้ใช้เพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค
  • หมายถึง แม่น้ำโขง แนวพระราชดำรินี้ จะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง ให้แก่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำก่ำ ที่มีน้ำให้ใช้เพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัย ในฤดูน้ำหลากอีกด้วย

นิทรรศการ 8 ชนเผ่า 2 เชื้อชาติ

        ประเพณีท้องถิ่น วิถีชีวิตชนเผ่า 8 ชนเผ่า 2 เชื้อชาติ ประกอบด้วย ไทยอีสาน (ไทลาว), ไทยย้อ (ไทญ้อ) ผู้ไทย (ภูไท), ไทยโส้, ไทยกะเลิง, ไทยข่า, ไทยแสก, ไทยกวน, ชาวไทยเชื้อสายจีน และเชื้อสายเวียดนามที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนมให้คงอยู่สืบไป ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายท่ามกลางธรรมชาติราบลุ่มแม่น้ำโขง

หอเฉลิมพระเกียรติพระราชวงศ์จักรี จังหวัดนครพนม ได้ให้ความสำคัญกับการถวายความจงรักภักดีต่อสถานบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักที่สร้างชาติไทยให้มีเอกภาพเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาแต่อดีตจนถึง ปัจจุบันเพื่อที่จะให้อนุชนรุ่นหลังได้ซึมซับในพระราชกรณียกิจที่ทุกพระองค์ได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระกำลังสติปัญญา และเอาพระทัยใส่เพื่อพสกนิกรของพระองค์มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ซึ่งภารกิจของหอเฉลิมพระเกียรติ พระราชวงศ์จักรี จังหวัดนครพนมแห่งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเทิดทูนสถาบัน พระมหากษัตริย์อันเป็นสถาบันหลักของชาติให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินไทย    เป็นมิ่งขวัญของประชาชนทุกหมู่เหล่าตราบนิรันดร์ 

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ข้าพระพุทธเจ้าขอเดชะ ผู้บริหาร และบุคลากร

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครพนม