ชนเผ่าไทญ้อ

ประวัติความเป็นมา 

            ความเป็นมาชุมชนบ้านโพน เป็นคนไทยย้อ ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวย้อ มีผู้ค้นพบว่าเดิมอยู่ แคว้นสิบสองปันนา หรือ ยูนาน ต่อมาชาวย้อบางพวกได้อพยพลงมาตามล าน้ำโขง เพื่อเลือกหาที่ตั้งบ้านตั้งเมืองที่อุดมสมบรูณ์กว่าที่อยู่เดิมจนในที่สุด ชาวย้อกลุ่มหนึ่งได้พบว่าตรงปากน้ำสงครามริม ฝั่งโขงเป็นที่อุดมสมบรูณ์มีปลา ชุกชุม จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นเมืองไชยบุรี 

             ในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าอนุวงษ์ เวียงจันทน์ได้เป็ นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2369 ไทยย้อเมืองไชยบุรีถูกกองทัพเจ้าอนุวงษ์ เวียงจันทน์กวาดต้อนให้อพยพข้ามโขงไป ด้วย โดยให้ไป     ตั้งอยู่ที่เมืองหลวงปุงเลง เมืองคำเกิด เมืองคำม่วน ในแขวงคำม่วน ของลาว ต่อมากองทัพไทย ได้กวาดต้อนให้ไทยย้อ ให้อพยพข้ามโขง กลับมา อีกครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไทยย้อ       กลุ่มหนึ่งตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าอุเทน และเป็นชุมชน บ้านโพน ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

               ในปัจจุบัน ชาวไทยย้อ ชุมชนบ้านโพนมี อาชีพด้านเกษตรเป็ นหลัก โดยเฉพาะการปลูกพืชเศรษฐกิจส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าว กล้วย อ้อย สับปะรด ยาสูบ และพืชผักตามฤดูกาล รองลงมาได้แก่ อาชีพเลี้ยงสัตว์ และจับสัตว์น้ำในลำน้ำ เนื่องจากว่ามี การตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แม่น้ำโขงและแม่น้ำสงคราม อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านโพน อัตลักษณ์ของชาวไทยย้อ ชุมชนบ้านโพน จะมีความสามัคคี มีความภาคภูมิใจในความเป็น ชนเผ่าดั้งเดิม นอกจากจะมีระบบวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมที่ทำกันมาตั้งแต่อดีตสิ่งแสดงถึง เอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทยย้อได้เป็นอย่างดี อีกอย่างหนึ่งก็คือ ภาษาไทยย้อ ชาวบ้านโพนยังคง พูดคุยสื่อสารกันโดยภาษาย้อกันทั้งชุมชน ภาษาไทยย้อจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไท-กระได มีเฉพาะ ภาษาพูดพื้นฐานเสียงแตกต่างไปจากภาษาไทยลาว (ภาษาไทยอีสาน) ตรงที่ฐานเสียงอักษรสูง และ เสียงจัตวาจะเน้นหนักในลำคอ เสียงสูง อ่อนหวาน ฐานเสียงสระ เอือ ใอ ในภาษาไทยลาวจะตรง กับฐานเสียงสระ เอีย และ เออ ตามลำดับ เช่น เฮือ เป็น เฮีย ให้ เป็น เห้อ ประโยคว่า อยู่ทางได เป็น อยู่ทางเลอ เจ้าสิไปไส เป็น เจ้านะไปกะเลอ เป็นต้น 

           ประเพณีและพิธีกรรมความเชื่อของชาวไทยย้อนั้น มีประเพณีเลี้ยงผีปู่ ตา โดยชาวบ้านจะ สร้างตูบปู่ ตา หรือ โฮงผีปู่ ตา โดยชาวไทยย้อถือว่าผีปู่ ตาคือ ผีบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว แต่ยังมีความ ห่วงใยในความเป็นอยู่ของลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ สำหรับที่ตั้งของผีปู่ ตาจะอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ สำหรับ ผีบรรพบุรุษของชาวไทยย้อที่ถือว่าเป็นผีปู่ ตา สำหรับงานบุญของชาวไทยย้อส่วนมากก็เหมือนกับ ชาวอีสานทั่วที่นับถือ พระพุทธศาสนาและ ปฏิบัติตนตาม ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม ศักยภาพทางการท่องเที่ยววัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทยย้อ บ้านโพน พบว่า ชุมชนไทยย้อ บ้านโพน มีความเข้มแข็งทางด้านวัฒนธรรมประเพณี โดยเฉพาะประเพณีเรือไฟบก ในช่วงออกพรรษา ของทุกปี และมีวัดคามวาสี ซึ่งเป็นวัดกลางหมู่บ้านที่ใช้ประกอบพิธีกรรมและประเพณีของชาวไทยย้อ สถานที่ภายในวัด ยังเป็นที่ตั้งเรือนโบราณชาวไทยย้อ เครื่องมือทำมาหากิน หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น พิพิธภัณฑ์ชนเผ่าของชุมชน และยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มทอผ้าในหมู่บ้านด้วย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นอัน แสดงถึงวิถีชุมชนที่น่าสนใจ อันเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ และนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจในวิถี วัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งภูมิปัญญาในการรักษาโรค การทำเกลือสินเธาว์ การขำขนมจีนแป้งหมัก การจักสาน การทอเสื่อกก ตลอดจนการทอผ้าและการย้อมผ้าสีธรรมชาติจากไม้มงคล ด้วยความ ที่ชุมชนบ้านโพนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย แต่ยังคงยึดมั่นในขนบประเพณี ตามวิถีไทยย้อที่แตกต่างจาก ชุมชนและชนเผ่าอื่น จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าเรียนรู้สำหรับนักท่องเที่ยวผู้ที่มีความชื่นชอบ ต้องการ เรียนรู้ และสัมผัสวัฒนธรรมพื้นถิ่นอยู่ไม่น้อย อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ของชาวไทยย้อบ้านโพนให้ นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อ     เป็นของฝากอย่าง ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน ผลิตภัณฑ์เสื่อกก และผลิตภัณฑ์ ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติจากไม้มงคล อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครพนม


Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *